บทความวิชาการเรื่อง รู้ทันจริต พิชิตนิสัย แก้ไขพฤติกรรมด้วยหลักพุทธธรรม เชิงสติประยุกต์
บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอนิสัยเบื้องลึกที่ฝังรากแน่นภายในจิตใต้สำนึกซึ่งมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการแสดงออกและการใช้ชีวิตของบุคคล การจะปรับเปลี่ยนให้เป็นพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์อย่างถาวรนั้นจะต้องปรับแก้พื้นเพของนิสัยในขั้นบุคลิกภาพที่เรียกว่า “จริต” ซึ่งตามหลักพุทธธรรมแบ่งนิสัยของมนุษย์ออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1) รักสวยรักงาม (ราคจริต) 2) โกรธเคืองรำคาญ (โทสจริต) 3) ลุ่มหลงมัวเมา (โมหจริต) 4) ศรัทธาเชื่อมั่น (สัทธาจริต) 5) ปัญญาเหตุผล (พุทธิจริต) และ 6) กังวลฟุ้งซ่าน (วิตกจริต) แต่ละบุคคลจะมีหลาย ๆ จริตปะปนกันไปแต่จะมีเพียงจริตเดียวเท่านั้นที่เด่นชัดและแต่ละจริตจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการใช้ชีวิต กิริยาท่าทาง จุดแข็งจุดอ่อนรวมทั้งวิธีแก้ไข หลักพุทธธรรมได้นำเสนอวิธีการปรับจริตด้วยการฝึกสติและการใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง หากรู้จักใช้หลักธรรมเชิงสติประยุกต์ให้สอดคล้องกับจริตตัวเองย่อมจะเปลี่ยนแปลงนิสัยด้านลบให้เป็นบวกได้ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเจริญงอกงามในการใช้ชีวิต
คลิกอ่าน..https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhsc/article/view/259859
ป.บัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2566). บทความวิชาการเรื่อง รู้ทันจริต พิชิตนิสัย แก้ไขพฤติกรรมด้วยหลักพุทธธรรม เชิงสติประยุกต์. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2567, จาก https://edu.kpru.ac.th/gdtp/?lang=TH&page_id=20&pdf=1
ข้อมูลอื่น ๆ
แสดงความยินดีกับศิษย์เก่า ที่สอบผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567
เผยแพร่เมื่อ 17 ตุลาคม 2567
กิจกรรมสัมมนาปลายภาคเรียนนักศึกษาออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (ขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1)
เผยแพร่เมื่อ 6 ตุลาคม 2567
การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยเอเซียน (AUN-QA) ประจำปีการศึกษา 2566
เผยแพร่เมื่อ 14 สิงหาคม 2567
การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยเอเซียน (AUN-QA) ประจำปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 7 - 8 สิงหาคม 2567
เผยแพร่เมื่อ 17 กรกฎาคม 2567
ภาพกิจกรรมปัจฉิมนิเทศและฉลองความสำเร็จ นักศึกษา ป.บัณฑิต สาขาวิชาชีพครู รุ่รรหัส 65
เผยแพร่เมื่อ 17 มีนาคม 2567